Wednesday, February 19, 2014

Sea Warfare Fighters บ.ขับไล่โจมตีอากาศนาวี


        ผู้เรียบเรียง  นายไพฑูรย์  แย้มประสวน  
                      ครูชำนาญการพิเศษ  สาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสิ่อสาร
         
                     โดยใช้ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต (หลายแหล่งที่มา)

SU 30  กองทัพอากาศรัสเซีย (เพ็นท์สีธงชาติสหพันธรัฐรัสเซีย)


Su-30  (Sukhoi ซูคอย) เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีสมรรถนะสูงสำหรับอากาศนาวียุคใหม่ ของประเทศรัสเซีย ที่ได้รับความนิยมจากกองทัพในหลายประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน  สาธารณรัฐอินเดีย  สาธารณรัฐเวเนซูเอลา  โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น เวียตนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย  ล้วนสั่งซื้อเข้าประจำการ 


ฝูงบิน Su-30  ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย (ธงแดง-ขาว ลำใกล้)  ฝึกร่วมกับ F-18 ของกองทัพอากาศออสเตรเลีย (สองลำไกล ทางซ้าย)



ประเทศไทยเองสมัยที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อทักษิณ ชินวัตร ก็คิดจะซื้อเครื่องบินรุ่นนี้เข้ามาใช้เหมือนกัน  (ราคาลำละประมาณ 34 ล้านเหรียญสหรัฐ ตีเป็นเงินไทย ก็น่าจะเป็นพันล้านบาทต่อลำ - แพงมากนะ สำหรับประเทศไทยเรา ...แต่ทางทหารเขาถือว่า คุ้มค่า เมื่อเทียบกับการปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล)  โดยเอาสินค้าเกษตรของไทย อาทิ ไก่ (ที่ในขณะนั้นโรคไข้หวัดนกกำลังระบาดอย่างรุนแรง ไทยต้องสังหารไก่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ตายไปมากมายก่ายกอง) ไปแลกซื้อเครื่องบินรัสเซีย (เนื่องจาก นายวลาดิมีร์ ปูติน  ผู้นำรัสเซีย กับนายกฯ ทักษิณ สองคนนี้เขาเป็นหมู่เฮากัน) ในลักษณะ Barter Trade (แลกสินค้า) 
นายกฯ ทักษิณ  ชินวัตร (2001-2006)   กับนายวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย 



แต่หลังจากที่ รัฐบาลของนายกฯทักษิณ ชินวัตร หมดอำนาจลง (ปี 2006)  กองทัพไทยก็ได้หันไปซื้อเครื่องบินกริพเพน Gripen  จากประเทศสวีเดน (ที่มีขนาดเล็กกว่า ราคาก็เบากว่า และมีเครื่องยนต์เดียว)  โดยให้เหตุผลว่า เหมาะสมกับประเทศไทย และมีค่าการดูแลรักษา maintenance cost ต่ำกว่าเครื่องบินรัสเซีย และสามารถเชื่อมระบบสื่อสารกับเรือรบของกองทัพเรือได้อีกด้วย และสวีเดนประเทศผู้ผลิตยังจัดแพ็คเกจ ที่เป็นชุดอำนวยการรบและระบบควบคุมสื่อสาร ที่เป็นเครื่องบินควบคุม และติดตั้งในเรือรบของกองทัพเรือไทย ให้อีกด้วย เรียกได้ว่า Valuable  (คุมค่า) น่าใช้ ประเทศที่สั่งซิ้อเครื่องบิน Gripen ไปใช้ในกองทัพของตน ก็มีหลายประเทศ อาทิ ประเทสวีเดน สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐเช็ค สาธารณรัฐฮังการี  สหภาพแอฟริกาใต้   และราชอาณาจักรไทย เป็นต้น



       Gripen  เครื่องบินขับไล่โจมตีของกองทัพอากาศไทย ประจำการที่กองบิน 7  สุราษฏร์ธานี


เครื่องบินกริพเพน กับเครื่องบินควบคุมสื่อสาร (ลำบน)  ครบเซ็ต
ปฏิบัติการทางอากาศนาวีก็น่าจะราบรื่น พราะประสานงานทั้งเรือรบ และเครื่องบินได้
กริพเพน กับเขี้ยวเล็บ ... โดยเฉพาะอาวุธปล่อยนำวิถี..มีเพียบ
Saab ทำการติดตั้งระบบสื่อสารและอำนวยการรบ ระหว่างเรือรบของไทย รล.นเรศวร และ รล.ตากสิน
(ประเภทเรือฟริเกต หรือเรือพิฆาตขนาดเบา)  กับฝูงบินกริพเพน ของกองทัพอากาศ



รล.ตากสิน  กองเรือฟริเกตที่ 2  กองเรือยุทธก่าร  กองทัพเรือไทยสั่งต่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน  เป็นเรือที่ระบบสื่อสารและอำนวยการรบจะได้รับการติดตั้งจาก Saab ผู้ผลิตเครื่องบิน Gripen

Gripen (new generation)  บินทดสอบโดยนักบินกองทัพอากาศอินเดีย
เป็นเครื่องบินรบที่สมรรถนะไม่ธรรมดา เมื่อเทียบกับราคา และค่าดูแลรักษาที่ต้นทุนต่ำกว่า Su-30


ถ้าจะว่าไปแล้ว กองทัพอากาศไทยอยากได้เครื่องบิน F-18 จากสหรัฐอเมริกา (F มาจาก Fighter คือ บ.ขับไล่) มากกว่า  และยังเคยสั่งจองมาแล้วด้วย (เพราะ ทอ.ไทย ก็ใช้ F-16 อยู้แล้ว  นักบินกับช่างเครื่องบินก็คุ้นเคยมือกับเครื่องบินทางค่ายอเมริกามากกว่า) แต่พอดีเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงปี 2540 (วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง) ชึ้นเสียก่อน  รัฐบาลไทยก็เลยต้องขอแคนเซิลกับทางอเมริกา (งานนี้ต้องโดนริบเงินมัดจำด้วย เพราะไม่ใช่เงินน้อยๆ ทางบริษัทล็อกฮีดส์ ผู้ผลิตเขาก็เสียหายและเสี่ยง แต่ได้ข่าวว่า ทางรัฐบาลสหรัฐก็ช่วยเจรจาลดหย่อนให้ เพราะถึงยังไงเครื่องบิน F-18 ก็ขายให้กองทัพอเมริกา และพันธมิตรได้อยู่แล้ว) 


F-18  (ปกติจะประจำการอยู่บนเรือบรรทุกเครื่องบิน) เครื่องบินฝึกนักบิน กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา 


และกองทัพไทยก็หันมาพิจารณาหา บ.ขับไล่โจมตีทางทะเล ที่ราคาเซฟกว่ากัน Gripen จากกลุ่มบริษัท Saab จากประเทศสวีเดน (ปกติบ้านเรา Saab จะคุ้นตาอยู่กับรถนั่งหรูหรา ที่เคยมาขายอยู่พักหนึ่ง)  จึงเป็นคำตอบสุดท้าย ...เพราะกองทัพอากาศเขาก็มีการตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการศึกษาพิจารณาอยู่นาน ..ที่สำคัญในเวลาปฏิบัติการจริงก็ต้องรบร่วมกับเรือรบของกองทัพเรือ (ประเทศอเมริกา รัสเซีย จีน พวกมหาอำนาจทางทหารนั้น กองทัพเรือจะมีฝูงบินโจมตีขับไล่ของตัวเอง เป็นกำลังอากาศนาวีที่กองกำลังทางเรือ และกองกำลังทางบกหรือนาวิกโยธิน ต่างก็ทำงานร่วมกันอยู่แล้ว เพราะอยู่ในกลุ่มงานที่ปฏิบัติร่วมกันตามปกติ ...แต่สำหรับประเทศเล็กๆ กองทัพเล็กๆ บ.ขับไล่โจมตีสมรรถนะสูงๆ จะขึ้นอยู่กับกองทัพอากาศ เมื่อต้องมารบร่วมกับกองเรือในทะเล และนาวิกโยธินหรือทหารเรือบนบก อาจจะมีปัญหาในเรื่องการสื่อสารได้ เพราะปกติก็ต่างคนต่างอยู่คนละกลุ่มงานกัน)  ก็ต้องมีระบบการสื่อสารที่เชื่อมต่อกันได้  การนี้ทางบริษัทซาบส์จะจัดระบบสื่อสารแถมมาให้ ..ไฮไลต์ก็เลยมาอยู่ตรงนี้  กองทัพไทยไม่ต้องจ่ายแพง  แต่ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ  ...เพราะพวกเขาจะสามารถปฏิบัติการทางอาศนาวีได้อย่างมั่นใจ


F-18  เครื่องบินขับไล่/โจมตีทางทะเล จากสหรัฐอเมริกา
นี่แหละที่กองทัพไทยอยากได้จัง  ...แต่มันแพงระยับ 
 
 


บางคนอาจจะสงสัยว่า แค่การรบทางทะเลมันจะสำคัญตรงไหน อยู่ไกลไปตั้งเยอะแยะ.... สมัยก่อนอาจจะเป็นเช่นนั้น  แต่สมัยนี้มันเปลี่ยนไป เพราะผลประโยชน์มากมายก่ายกองของชาติก็อยู่ในท้องทะเล  อาทิ  ประเทศไทย ทรัพยากรทางทะเลในเขตเศรษฐกิจ 200 ไมล์ ก็มากมายมหาศาล ตั้งแต่แร่ธาตุ ก๊าซธรรมชาติ การประมง การท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรมตามฝั่งทะเลภาคตะวันออก ท่าเรือแหลมฉะบัง ฯลฯ  นี่ยังไม่นับด้านการขนส่งสินค้าเข้า-ออกทางทะเลที่เป็นเส้นทางหลักของชาติเรา 
...เอาแค่ประเทศอืนมาปิดปากอ่าวไทย เราก็อาจจะเป็นง่อยไปแล้ว เพราะแค่ขนส่งน้ำมันดิบเข้ามาไม่ได้ ยวดยาน การขนส่ง เป็นง่อยเลย  กองทัพก็รบไม่ได้ ไม่มีน้ำมันเติมรถ เรือ เครื่องบิน
 ... แล้วประเทศไหนจะมาปิดอ่าวไทยได้?  ... เอาแค่เวียตนามประเทศเดียว ไทยเราก็หนาวแล้ว เพราะดูตามแผนที่เวียตนามใต้ตั้งอยู่ปากซอยอ่าวไทยพอดี  และเวียตนามมีเรือดำน้ำที่เพิ่งทุ่มงบซื้อจากรัสเซียมา 4 ลำ (เรือดำน้ำลำหนึ่ง ราคาไม่ต่ำกว่าหมื่นล้าน ความเก่งของเรือดำน้ำก็ระดับ มัจฉานุ ลูกชายของหนุมาน ในวรรณคดีรามเกียรตินั่นแหละ ..เอาแค่ว่า มันรบและกบดานอยู่ในทะเลได้ทุกสภาพอากาศ  แค่นี้พวกเรือผิวน้ำ กับเครื่องบินก็มีข้อจำกัดแล้ว  ยิ่งเรือดำน้ำสมัยนี้มันสามารถยิงอาวุธใส่เครื่องบินได้อีกด้วย ..ถ้าไม่มีเรือดำน้ำด้วยกันไปต่อกรกับมัน..ก็เล่นมันยากแล้ว) 
เวียตนามยังมีเครื่องบินตระกูลซูคอยฝูงเก่าอยู่อีกล่ะ  แล้วต้องไม่ลืมว่า กองทัพเวียตนามนั้นเคยรบกับฝรั่งเศส เคยรบยาวกับอเมริกา และเคยรบสั้นๆ กับสาธารณรัฐประชาชนจีนมาแล้ว ก็ขนาดประเทศบิ๊กๆ เบิ้มๆ เวียตนามก็เคยรบมาแล้ว หากต้องมารบกับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน มีหรือที่ชาตินักรบตัวจริงอย่างเวียตนามจะขยาดขาดกลัว  ก็เขาเป็นนักรบมืออาชีพตัวพ่อ ... ก็นี่แหละไทยเราถึงต้องมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ไง  ต้องจัดหาเรือดำน้ำ  และตั้งฝูงบินขับไล่สมรรถนะสูงไว้ที่ภาคใต้ตอนล่างไง... นี่ยังไม่นับประเทศมาเลเซียที่มีอาวุธมากมาย เพราะประเทศนี้มีตังค์มาก ... แล้วถามว่าโอกาสจะรบกันมีไหมก็เราเป็นเพื่อนบ้านอาเซียนกัน? ... ก็ดูแค่ไทยกับกัมพูชาก็ยังถล่มปืนใหญ่ใส่กันไปกี่นัด? ..ไทยกับพม่าก็เคยถล่มกันแถวชายแดนตายไปไม่ใช่น้อย?... ทางทหารเขาก็ไม่เคยประมาท เพราะผลประโยชน์ของชาติมันก็ไม่มีใครยอมใคร


เรือดำน้ำสาธารณรัฐเวียตนาม ที่สั่งต่อจากสหพันธรัฐรัสเซีย (มีข่าวว่า 4 ลำ)



สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม และมาเลเซีย  เพื่อนบ้านอาเซียนของเรา ก็มี Su-30 เข้าประจำการ เพื่อเอาไว้รับมือกับภัยคุกคามที่มาจากยักษ์ใหญ่อย่าง สาธารณรัฐประชาชนจีน (ก็มี Su-30 ประจำการเช่นกัน โดยจีนซิ้อแบบจากรัสเซีย และผลิตมาใช้ในกองทัพของตนเองเอง) เนื่องจากมีกรณีพิพาทเรื่องสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปร็ตลีย์ ในทะเลจีนใต้ กันอยู่


Su-30  กองทัพเวียตนาม  เตรียมพร้อมรับมือยุทธนาวีสมัยใหม่



ประเทศมาเลเซีย ก็มี Su-30 เข้าประจำการในกองทัพของตน
Su-30  อากาศนาวี กองทัพเรือสาธารณรัฐประชาชนจีน



     ในภาพต่อไปนี้ เป็นเครื่องบิน SU-30 ของกองทัพอากาศอินเดีย  ผลิตในประเทศโดยรัฐวิสาหกิจผลิตอากาศยานฮินดูสถานของรัฐบาลอินเดีย Hindustan Aeronautics Limited (HAL).  โดยซื้อไลเซนส์ มาจากประเทศรัสเซีย เอามาผลิตใช้ในกองทัพของตน



Su30 ของกองทัพอากาศอินเดีย  จะเห็นว่ามีธงชาติอินเดียติดอยู่ที่ท้ายเครื่อง  ทำการบินทดสอบโดยนักบินของ ทอ.อินเดีย







SU 30  จะมีสองปล่อง twin engine หรือสองเครื่องยนต์  (F-16 มีปล่องเดียว)  เทียบสมรรถนะได้กับ F-18 ของกองทัพสหรัฐอเมริกา (แต่ราคาถูกกว่า)    เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีที่จะเอาไว้ต่อกรกับกองเรือ  ฝูงบิน และอาวุธภาคพื้นดิน  ปฏิบัติภารกิจได้ทุกกาลอากาศ (all weather mission) ทั้งกลางวันและกลางคืน





เป็นเครื่องบินที่เอาไว้รบกันในทะเล ซึ่งจะเจอทั้งเครื่องบินด้วยกันเอง เรือผิวน้ำ  เรือดำน้ำ จรวดนำวิถี  จัดเป็นเครื่องบินที่มีเขี้ยวเล็บรอบตัว และพิสัยปฏิบัติการไกลกว่าปกติ




.



No comments:

Post a Comment