กลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ Carpal tunnel syndrome (CTS)
ที่มา http://www.siamhealth.net/
เป็น กลุ่มโรกกดทับเส้นประสาทที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุเกิดจากมีการกดทับเส้นประสาท median nerve ที่บริเวณข้อมือซึ่งบริเวณนี้จะมีลักษณะเป็นโพรงหรืออุโมงที่ประกอบไปด้วย ผนังด้านหน้าได้แก่เอ็นที่เรียกว่า tranverse carpal ligament ส่วนผนังด้านหลังได้แก่กระดูกข้อมือ ถ้าโพรงนี้ตีบแคบจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท median nerve ทำให้เกิดอาการปวด ชาบริเวณนิ้วหัวแม่มือถึงนิ้วนาง |
เส้นประสาท median nerve ทำหน้าที่อะไร
เส้นประสาม median nerve ทำหน้าที่รับความรู้สึก และการเคลื่อนไหวบริเวณน้ิหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง
สาเหตุ
สาเหตุสำคัญของโรคนี้คือการใช้ข้อมือ และมือซ้ำๆ ตัวอย่างสาเหตุที่พบว่าเกิดบ่อยที่สุดคือการคีย์คอมพิวเตอร์ ตัวอย่างอาชีพที่พบโรคนี้ได้บ่อย- อาชีพเย็บปักถักร้อย
- ขับรถ
- การทาสี
- การเขียนหนังสือ
- การใช้เครื่องมือที่สั่น เช่นเครื่องเจาะถนน
- กีฬาบางประเภท
- การเล่นดนตรี
- โรคอ้วน
- การตั้งครรภ์
- ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
- อาจจะเกิดตามหลังข้ออักเสบ เช่น วัณโรค โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าท์
- โรคเบาหวาน
- ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อมือ
- เอ็นอักเสบจากการใช้งานอย่างต่อเนื่อง เช่น การพิมพ์ดีด การบิดผ้า
อาการของกลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
- ผู้ป่วยจะมาด้วย ชาเป็นเหน็บ หรือบางท่านจะมีอาการปวด แสบร้อนบริเวณฝ่ามือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง ด้านหน้าหรือด้านหลังผ่ามือ มักจะเกิดตอนกลางคืนในขณะหลับ ทำให้ต้องตื่นนอนเพื่อสะบัดมือ หรือนวดฝ่ามือเพื่อช่วยให้เหน็บชาดีขึ้น
- ผู้ป่วยบางท่านจะมาด้วยฝ่ามือ นิ้วมือ เหน็บชาและอ่อนแรงในขณะขับรถ หรือขณะถือหนังสือพิมพ์ ทำให้ต้องลดมือลง
- อาการปวดอาจจะร้าวไปถึงข้อศอก
- กล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือฝ่อ
- ไม่มีแรงกำ
การตรวจร่างกายอย่างง่ายๆ
- การตรวจร่างกายอย่างง่ายๆที่เรียกว่า Tinel's test โดยการเคาะบริเวณตรงกลางข้อมือซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นประสาท median nerve ผ่าน จะมีอาการปวดหรือลักษณะไฟช็อต ร้าวไปที่นิ้วมือ การทดสอบนี้มีความไว40-60% มีความจำเพาะ 70-94%
- การตรวจ Phalen's test คือให้งอข้อมือ 90 องศาเป็นเวลา 1 นาที ผู้ป่วยจะมีอาการชา หรืออาการปวดบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ
- ในกรณีที่เป็นรุนแรงและเป็นมานานจะพบกล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วจะฝ่อลีบและอ่อนแรง
- การตรวจ Durkan 's test โดยการกดบริเวณข้อมือเป็นเวลา 30 นาที หากมีอาการชาหรือปวดจะแสดงว่ามีการกดทับของเส้นประสาท
- การตรวจการรับความรู้สึกที่
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าของเส้นประสาท median nerve จะทำในกรณีที่อาการและอาการแสดงไม่ชัดเจน
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าของเส้นประสาท Nerve conduction velocity
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อElectromyography
- การ x-ray ข้อมือ Wrist x-rays
การรักษา
การรักษาโรคกลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ควรจะรีบให้การรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น โดยการให้พักข้อมือ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปวดมากขึ้น การใส่ splint เพื่อพักข้อมือ หากมีอาการบวมให้ประคบเย็น การรักษาแบ่งออกเป็น
การรักษาโรคกลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ควรจะรีบให้การรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น โดยการให้พักข้อมือ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ปวดมากขึ้น การใส่ splint เพื่อพักข้อมือ หากมีอาการบวมให้ประคบเย็น การรักษาแบ่งออกเป็น
การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
- การใช้เผือกอ่อนดามข้อมือ
- การใช้ยา ยาที่นิยมใช้คือยากลุ่ม NSAID ซึ่งเป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบ เช่น aspirin, ibuprofen จะสามารถลดอาการปวดและอาการบวม
- การใช้ยา steroid จะใช้รักษาในช่วงระยะเวลาไม่นาน การใช้ยานี้ควรจะอยู่ในการดูแลของแพทย์
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะใช้ข้อมือเพื่อลดการอักเสบของข้อ มือ การทำกายภาพบำบัด เช่น การทำอุลตร้าซาวด์ การบริหารมือ ซึ่งจะได้ผลดีในผู้ที่เริ่มต้นมีอาการไม่มาก
- การฉีดยา steroid เข้าบริเวณข้อมือพบว่าได้ผลร้อยละ 80 และต้องแก้ไขสาเหตุ
การผ่าตัด
การผ่าตัดจะกระทำเมื่อ- การรักษาด้วยยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วไม่ได้ผล
- ในรายที่มีอาการรุนแรงกล้ามเนื้อฝ่อมักจะไม่ได้ผลเมื่อรักษาด้วยยา
วิธีการผ่าตัด
- การผ่าตัดโดยการเปิดแผลและตัดเอ็นที่ด้านหน้า และขยายช่องให้ใหญ่ขึ้น
- การผ่าตัดโดยการส่องกล้องข้อดีแผลจะเล็กกว่าการผ่าตัด
No comments:
Post a Comment