โครงสร้าง
เอ็นสองเส้นที่มาบังคับการทำงานของนิ้วหัวแม่มือจะวิ่งในปลอกหุ้ม เอ็น เอ็นจะมีเยื่อหุ้มเอ็นซึ่งจะทำหน้าที่ทำให้เอ็นเคลื่อนในปลอกลื่นไหล เมื่อปลอกหุ้มเอ็นอักเสบหรือบวมจะทำให้เกิดอาการปวดสาเหตุ
- เกิดเนื่องจากการใช้งานของข้อมือและนิ้วหัวแม่มือในลักษณะซ้ำๆ เช่นการหยิบสิ่งของต่าง
- เกิดพร้อมกับข้ออักเสบอื่นๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์
อาการของโรคและการตรวจ
- ผู้ป่วยจะมาด้วยปวดหรือเจ็บบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ อาการอาจจะค่อยเป็นค่อยไป หรืออาจจะเกิดทันที อาการปวดอาจจะร้าวไปข้อศอก อาการจะปวดมากโดยเฉพาะเวลาหยิบหรือจับสิ่งของ
- อาจจะมีอาการบวมบริเวณเอ็นตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ
- อาจจะมีอาการชาด้านหลังนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
- การตรวจที่เรียกว่า Finkelstein's test โดยการให้ผู้ป่วยกำนิ้วหัวแม่มือและให้หักข้อมือลงทางด้านนิ้วก้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
การรักษา
การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด
- การพักการใช้งาน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้นิ้วหัวแม่มือ
- การใช้เผือกอ่อนดามโคนนิ้วหัวแม่มือ
- ใช้ยาลดอาการปวดและลดการอักเสบ เช่น การใช้ยา NSAID
- การประคบร้อน การประคบเย็น การใช้ ultrasound
- หากไม่ตอบสนองก็ใช้วิธีการฉีด steroid
- การผ่าตัดจะทำในรายที่อาการปวดไม่ทุเลา การผ่าตัดจะตัดแยกปลอกหุ้มเอ็น
No comments:
Post a Comment