Friday, April 17, 2009

NSAID


ที่มา  http://www.siamhealth.net/


NSAID ย่อมาจากคําว่า Nonsteroidal anti-inflammatory drug หมายถึง ยาต้านการอักเสบชนิดที่
ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นยากลุ่มที่ใช้เป็นยาแก้ปวดได้ดีโดยเฉพาะ อาการปวดจากการอักเสบ ยาที่จัด
เป็นนแม่แบบ คือ แอสไพริน (Aspirin) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันมานาน
ยาลดการอักเสบหรือยาแก้ปวดกลุ่ม NSIAD ได้มีการใช้การมานาน และปัจจุบันก็มียาอยู่ในตลาดมากมายมาย ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถบอกได้ว่ายาตัวไหนดีที่สุด เนื่องจากว่าการตอบสนองของยาแต่ละคนและแต่ละขนาดของยาจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้บริโภคควรจะมีความรู้ในการเลือกใช้ยา

กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่ม NSAID

การอักเสบของอวัยวะในร่างกายเกิดจากการที่เซลล์หลังสาร ที่เรียกว่า พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารสื่อกลางในการกระตุ้นทำให้เกิดอักเสบ ยากลุ่ม NSAIDs นี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้ง enzymes ที่เรียกว่า cyclooxygenases ทำให้การหลั่งของสาร พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ลดลงทำให้การอักเสบลดลง และลดอาการปวด การยับยั้ง enzyme ดังกล่าวทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาอีกหลายประการ

ชนิดของยา NSAID

แบ่งออกเป็นสองชนิดคือ
  • Nonselective NSAIDs หมายถึงยาจะยับยั้ง enZymes ทั้งชนิด COX-1 and COX-2 enzymes ซึ่งการที่มันยับยั้ง enzyme ทั้งสองชนิดทำให้ยากลุ่มนี้ระคายต่อกระเพาะอาหาร ยากลุ่มนี้ได้แก่ aspirin, ibuprofen naproxen diclofenac
  • Selective NSAIDs ยากลุ่มนี้จะเลือกยับยั้งเฉพาะชนิด COX-2 enzymes ดังนั้นจะระคายกระเพาะน้อยกว่ายาในกลุ่มแรก ดังนั้นผู้ป่วยซึ่งมีประวัติโรคกระเพาะควรจะได้รับยาในกลุ่มนี้ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Celecoxib
ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเคยทำballon หลอดเลือดหัวใจ หรือเคยเป็นอัมพาตหรืออัมพฤต หรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงควรจะหลีกเลี่ยงยา NSAID โดยเฉพาะยาในกลุ่ม Selective NSAIDs สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือเคยมีเลือดออกมาควรจะหลีกเลี่ยงยาในกลุ่ม Nonselective NSAIDs
ผู้ป่วยที่มีโรคไต โรคหัวใจวาย โรคตับ ความจะหลีกเลี่ยงยาแก้ปวดกลุ่มนี้

ข้อบ่งชี้ในการใช้ยา

ยากลุ่มนี้ใช้ในการรักษาอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบโรคหรือภาวะที่นิยมใช้ยานี้ได้แก่

ยานี้มีผลข้างเคียงที่ผู้รับประทานจะต้องทราบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • ยากลุ่ม NSAIDs จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ยานี้เป็นเวลานาน และมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ยา NSAIDs ห้ามระงับอาการปวดหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงต่อระบบทางเดินอาหาร

  • ยากลุ่ม NSAIDs จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนทางเดินอาหารได้แก่ เลือดออกทางเดินอาหาร แผลกระเพาะอาหาร กระเพาะทะลุ

อาการข้างเคียงของยา

ผลข้างเคียงของยา NSAIDs ที่อันตรายให้หยุดยาทันทีและปรึกษาแพทย์ในกรณีที่พบอาการดังต่อไปนี้
ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้
คนส่วนใหญ่จะรับยานี้ได้อย่างปลอดภัย นอกจากบางคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงอาจจะมีผลข้างเคียงของยา ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยได้แก่
  • ระคายต่อกระเพาะ หากรับประทานขนาดยาไม่สูงและรับช่วงสั้นๆอาจจะมีอาการแน่นท้อง เสียดท้อง หากรับประทานยาในขนาดสูงและติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้เกิดโรคกระเพาะ และมีเลือดออกได้
  • ตับอักเสบ หากรับประทานยากลุ่มนี้ในขนาดสูงเป็นระยะเวลานาน
  • ไต การใช้ยากลุ่มนี้แม้ว่าในระยะสั้นก็อาจจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และมีปัญหากับไต ดังนั้นคงต้องติดตามความดันและการทำงานของไต
  • หูอื้อ พบมากในผู้ที่รับประทานยาในขนาดสูง
  • มึนงง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • น้ำมูกไหล เจ็บคอ
  • ผื่นคันเล็กน้อย

ก่อนรับประทานยาจะต้องแจ้งแพทย์อะไรบ้าง

  • ไม่ควรใช้ยานี้ก่อนหรือหลังการผ่าตัดเบียงเบียน หลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากยานี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
  • ยานี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเลือดออกใน กระเพาะอาหาร และกระเพาะอาหารทุลุ ดังนั้นจะต้องระวังในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ที่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน
ดังนั้นการใช้ยานี้อย่างปลอดภัยจะต้องแจ้งอาการดังต่อไปนี้ให้แพทย์ทราบ
  1. แพ้ยา หากท่านผู้อ่านแพ้ยาดังต่อไปนี้ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชก่อนใช้ยา  และไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้เองเนื่องจากอาจจะแพ้ยา
  • Aspirin or other salicylates
  • Ketorolac
  • Oxyphenbutazone
  • ibuprofen (e.g., Suprol)
  1.  หากท่านผู้อ่านเป็นโรคหัวใจหรือโรคไตไม่สามารถรับ อาหารที่มีเกลือมากไม่ได้ ต้องแจ้งแพทย์เนื่องจากยาในกลุ่มนี้บางตัวมีเกลือผสมอยู่ อาจจะทำให้โรคที่ท่านเป็นอยู่มีอาการทรุดลง
  2. ประวัติการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง
  3. ประวัติโรคกระเพาะอาหาร หรือเคยมีเลือดออกทางเดินอาหาร
  4. การตั้งครรภ์ เนื่องจากการใช้ยาในคนท้องอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และอาจจะเกิดปัญหากับทารกดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยารับประทานเองขณะตั้งครรภ์
  5. ขณะให้นมบุตร ไม่ควรใช้ยาดังต่อไปนี้ indomethacin meclofenamate phenylbutazone piroxicam เนื่องจากมีรายงานว่าเกิดผลข้างเคียง
  6. ผู้สูงอายุอาจจะทำให้สับสน หน้า เท้าบวม ปัสสาวะออกน้อย
  7. หากท่านผู้อ่านที่รับประทานยาอื่นร่วมด้วยต้องแจ้งแพทย์และเภสัชทุกครั้ง
  8. ถ้าหากท่านมีโรคประจำตัวต้องแจ้งทุกครั้ง เช่น
  • โรคหัวใจ
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • โรคตับ
  • โรคไต
  • โรคลมชัก
  • โรคหอบหืด
  • โรคเลือดมีประวัติเลือดออกง่าย
  • ริดสีดวงจมูก

ความปลอดภัยสำหรับคนตั้งครรภ์

จัดอยู่ในกลุ่ม D ไม่ควรให้ผู้ที่ตั้งครรภ์ไตรมาศสุดท้ายเพราะอาจจะมีผลเสียกับทารก สำหรับผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยานี้เด็กอายุ น้อยกว่า 2 ปีไม่ควรจะใช้ยานี้
การใช้ยา NSAID ในภาวะต่างๆกัน
ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เจ็บหน้าอก หรือมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคอัมพาต ควรจะหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มนี้ หากจำเป็นต้องรับยาในกลุ่มนี้ต้องรับประทานยาในขนาดต่ำสุดและระยะสั้นที่สุด สำหรับ aspirin ใช้เป็นยาเพื่อลดการตีบของหลอดเลือด
โรคกระเพาะอาหาร
ผู้ที่มีโรคกระเพาะอาหารหรือเคยมีเลือดออกในทางเดิน อาหารจะเสี่ยงต่อการมีเลือดออกหารับประทานยาแก้ปวดกลุ่มนี้ แนวทางแก้ไขอาจจะลดปัญหาเรื่องโรคกระเพาะดดยการรับประทานยาลดกรด เช่น famotidine  omeprazole lansoprazole ร่วมด้วยจะช่วยลดการเกิดโรคกระเพาะ
ภาวะเลือดออก
หากจะผ่าตัดต้องหยุดยากลุ่มนี้เป็นเวลา 7 วันก่อนผ่าตัด
ภาวะบวมน้ำ
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะบวม เช่นผู้ป่วยโรคหัวใจวาย โรคตับ และโรคไตเมื่อรับประทานยานี้จะทำให้เกิดการบวมซึ่งอาจจะทำให้โรคกำเริบ
โรคไต
ยาแก้ป่วยกลุ่มนี้อาจจะทำให้การทำงานของไตแย่ลง ดังนั้นไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยโรคไต
ผู้ป่วยตั้งครรภ์หรือเลี้ยงลูกด้วยนม
ไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ในการตั้งครรภ์ไตรมาศสามเพราะอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนกับเด็ก แต่สำหรับระหว่างการให้นมสามารถให้ยานี้ได้
ผู้ป่วยที่แพ้ aspirin
หากมีประวัติแพ้ยาก็ควรจะหลีกเลี่ยงยาในกลุ่มนี้ทั้งกลุ่มเพราะอาจจะมีอาการแพ้ยาได้
ยาลดการอักเสบ NSAID
ยาแก้อักเสบหรือยาแก้ปวดที่แพทย์และผู้ป่วยนิยมใช้กันใช้ทั้งลดไข้ในเด็ก ลดอาการข้ออักเสบ แต่ยากลุ่มนี้ก็มีผลข้างเคียงหากใช้ยาไม่ถูกต้อง ท่านผู้อ่านที่ใช้ยากลุ่มนี้ต้องศึกษาถึงผลดีและผลเสียของยากลุ่มนี้ข้อบ่ง ชี้ในการใช้ยากลุ่มนี้ได้แก่
  1. ใช้เป็นยาแก้ปวด Analgesic ได้แก่ยา Diclofenac;  Fenoprofen; Floctafenine; Ibuprofen; Ketoprofen; Meclofenamate; Mefenamic Acid; Naproxen
  2. ใช้ลดการอักเสบ Anti-inflammatory ได้แก่ยา Flurbiprofen; Indomethacin; Naproxen; Sulindac; Tenoxicam
  3. ใช้แก้ปวดประจำเดือน Antidysmenorrheal ได้แก่ยา Diclofenac; Flurbiprofen; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Meclofenamate; Mefenamic Acid; Naproxen; Piroxicam
  4. ใช้รักษาโรคเก๊า Antigout agentไดแก่ยา Diclofenac Fenoprofen; Floctafenine; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Naproxen; Phenylbutazone; Piroxicam; Sulindac
  5. ใช้ลดไข้ Antipyretic—Ibuprofen; Indomethacin; Naproxen
  6. ใช้รักษาข้ออักเสบ Antirheumatic ได้แก่ยา Diclofenac; Diflunisal; Etodolac; Fenoprofen; Flurbiprofen; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Meclofenamate; Nabumetone; Naproxen; Oxaprozin; Phenylbutazone; Piroxicam; Sulindac; Tenoxicam; Tiaprofenic Acid; Tolmetin
  7. ใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะจากหลอดเลือด Vascular headache prophylactic ได้แก่ยาFenoprofen; Ibuprofen; Indomethacin; Mefenamic Acid; Naproxen
  8. ใช้แก้ปวดศีรษะจากหลอดเลือดสมอง Vascular headache suppressantได้แก่ยา Diclofenac; Diflunisal; Etodolac; Fenoprofen; Floctafenine; Ibuprofen; Indomethacin; Ketoprofen; Meclofenamate; Mefenamic Acid; Naproxen
วิธีการใช้ยาที่ถูกต้องเป็นอย่างไร
หลังจากที่รับประทานยานี้แล้วท่านจะต้องทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  • ให้ดื่มน้ำทันที 1 แก้วและห้ามนอนราบเป็นเวลา 30 นาทีเพื่อป้องกันยาระคายเคืองต่อกระเพาะและหลอดอาหาร
  • ให้รับประทานยานี้พร้อมอาหาร หรือรับประทานยาลดกรดร่วมด้วย
  • ยาที่ออกฤทธิ์ช้า delayed-release (enteric-coated) ไม่จำเป็นต้องรับประทานพร้อมอาหาร หรือยาลดกรด
  • ยานี้ให้กลืนห้ามเคี้ยว

จะต้องหลีกเลี่ยงอะไรหากรับประทานยา celecoxib

  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุราเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • ไม่ควรจะรับประทานยาในกลุ่มยาแก้อักเสบ NSAIDs
  • ไม่ควรรับประทานยาแก้ปวดหรือยารักษาไข้หวัดที่มีส่วนผสมของยากลุ่ม NSAID โดยจะต้องอ่านสลากยาก่อนรับประทาน
  • หลีกเลี่ยงแสงแดดจ้าๆ
หากท่านรับประทานยาดังต่อไปนี้จะต้องแจ้งแพทย์


ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ตัวไหนดีที่สุด | คำเตือนในการใช้ยากลุ่ม NSAIDs

Monday, April 13, 2009

Signs of Spring สัญญาณแห่งฤดูใบไม้ผลิ


The Northern Hemisphere is once more beginning its lean towards the Sun, with the spring equinox taking place last Friday, March 20th. People all over are welcoming the spring sunshine and new growth in many ways - from Stonehenge and Mayan pyramids to Dutch meadows and Texan beaches. Here is a collection that shows some of the signs of spring as we shake off the last bits of winter. (29 photos total)


A girl enjoys the warm weather in St James's Park on March 16, 2009 in London, England. Temperatures reached 17 degrees celsius (63F) that day. (Dan Kitwood/Getty Images)



A robin sits on a snow-covered tree feeding on berries in Queen Elizabeth Park in Vancouver, British Columbia March 9, 2009. Vancouver had been covered in an unseasonal blanket of snow the previous night. (REUTERS/Andy Clark) #


Elderly Russian men and women sunbathe near the wall of the Peter Paul fortress in St. Petersburg on March 16, 2009, enjoying some sunshine at the end of a long harsh winter. (ELENA PALM/AFP/Getty Images) #


A duck pecks at shiny coins frozen in the ice of the Neva river in St. Petersburg on March 16, 2009. (ELENA PALM/AFP/Getty Images) #


The sun sets behind the London eye at the end of a warm day on March 16, 2009 in London, England. (Dan Kitwood/Getty Images) #


A young woman relaxes between thousands of crocuses near the river Rhine in Dusseldorf, Germany, Wednesday, March 18, 2009. (AP Photo/Martin Meissner) #


Effigies burn during the finale of the Fallas festival, which welcomes spring and honours Saint Joseph's Day, in Valencia in the early hours of March 20, 2009. Fallas are elaborate giant sculptures and effigies made of wood and plastic which are burned at the end of the week-long spectacle of processions, fireworks, music and dancing. (REUTERS/Heino Kalis) #


The sun rises over Stonehenge as druids celebrate the Spring Equinox at Stonehenge on March 20 2009 near Amesbury, Wiltshire, England. Several hundred druids and pagans were granted special access to the ancient monument to mark the date in the calender when the length of the day and the night are equal. (Matt Cardy/Getty Images) #

An Afghan girl plays as others gather to celebrate the Afghan New Year in Kabul March 21, 2009. Afghanistan uses the Persian calendar which runs from the vernal equinox. The calendar takes as its start date the time when the Prophet Mohammad moved from Mecca to Medina in 621 AD. The current Persian year is 1388. (REUTERS/Omar Sobhani) #

Cherry blossoms in full bloom are seen inside a garden on a spring day in Srinagar, Kashmir on March 21, 2009. (REUTERS/Fayaz Kabli) #

Outside the biological farm Den Hartig in Abcoude, The Netherlands, cows jump around in their meadow, on March 20, 2009. On that day the cows were allowed to go outside for the first time since last autumn. (VALERIE KUYPERS/AFP/Getty Images) #

Iraqi Kurds carry torches up a rocky hill as they celebrate Nowruz in the Kurdish town of Akra, 500km north of Baghdad on March 20, 2009. Nowruz marks the first day of spring and the beginning of the year in Iranian calendar. It is celebrated on the day of the astronomical vernal equinox, which usually occurs on March 21. (SAFIN HAMED/AFP/Getty Images) #

Girls dance on stage at a Spring Break dance contest at the Coca-Cola Beach at the Radisson hotel on South Padre Island, Texas Wednesday March 11, 2009. (AP Photo/The San Antonio Express-News, Delcia Lopez) #

People stand on top the Pyramid of the Sun at sunrise during the spring equinox in Teotihuacan, Mexico, Saturday, March 21, 2009. (AP Photo/Marco Ugarte) #

A woman crouches amongst the daffodils in London's St James' Park to take a photograph, as the capital enjoyed spring sunshine on March 20, 2009. (ADRIAN DENNIS/AFP/Getty Images) #

Masked dancers wear their traditional ritual masks during a festival in the village of Kalipetrovo, north-east of the Bulgarian capital of Sofia, Saturday, March, 21, 2009. Ritual mask dances are popular in rural Bulgaria with participants dressed in sheepskin garments and wearing scary masks with the intention to drive away the evil spirits or ghosts for the beginning of the spring season. (AP Photo/Petar Petrov) #

People attend the spring equinox in front of the Kukulkan Pyramid (or "El Castillo") in Chichen Itza, Mexico, Saturday, March 21, 2009. This Mayan pyramid was built so that the shadows of a corner of the pyramid would fall on a stairway and create the image of an illuminated serpent (visible on the left side). (AP Photo/Israel Leal) #

A young skier begins to sink as she tries to skim across a pond during a spring skiing ritual at Pat's Peak ski area in Henniker, New hampshire, Saturday, March 21, 2009. (AP Photo/Jim Cole) #

A dancer in a national costume performs during festivities marking the holiday of Navruz in Tashkent, Uzbekistan, Saturday, March 21, 2009. (AP Photo/Anvar Ilyasov) #

Strollers walk through a sea of crocusses in the park of the castle in Husum, northern Germany, as temperatures reached nine degrees Celsius (48.2 Fahrenheit) on Tuesday, March 17, 2009. According to a legend, monks in the 15th century planted the first crocusses here, and today some 4.5 million of them blossom here. (AP Photo/Heribert Proepper) #

Dancers perform next to the Pyramid of the Sun during spring equinox in Teotihuacan, Mexico, Saturday, March 21, 2009. (AP Photo/Marco Ugarte) #

A U.S. Marine patrols with an opium poppy flower on his helmet on March 19, 2009 near Baqwa in Farah province of southwest Afghanistan. The Marines based at the remote village are battling a Taliban insurgency funded in large part from the multi-billion dollar drug export trade thriving in the south of the country. (John Moore/Getty Images) #

A Kazakh woman shows her nomad's tent decorated and furnished for the traditional Nowruz festival, which marks the Kurdish and Iranian New Year, in Baikonur on March 22, 2009. (NATALIA KOLESNIKOVA/AFP/Getty Images) #

A flock of snow geese fly over Wolf Lodge Bay Wednesday, March 18, 2009 on the east side of Lake Coeur d'Alene near Coeur d'Alene, Idaho. The birds migrate from their winter area of the western Gulf Coast to their summer range of northern Alaska and arctic Canada for breeding. (AP Photo/Coeur d'Alene Press, Jerome A. Pollos) #

The lights shine on Ed Smith Stadium as the Cincinnati Reds play the Boston Red Sox in a spring training baseball game in Sarasota, Fla., Thursday, March 19, 2009. (AP Photo/Keith Srakocic) #

A squirrel looks around while climbing a tree in a park in central Minsk, Belarus on March 20, 2009. (REUTERS/Vasily Fedosenko) #

New Yorkers are covered in colored powder and dye during Holi, also known as Phagwah, celebrations March 15, 2009 in the Queens borough of New York City. Holi is originally an Indian festival marking the arrival of spring and is also called the Festival of Colors. Many of the New York participants are of Indo-Caribbean descent from Guyana and Trinidad where the festival is known as Phagwah. (Mario Tama/Getty Images) #

A dog stands behind crocuses in full bloom on March 22, 2009 at the Olympic parc in Munich, southern Germany. (JOERG KOCH/AFP/Getty Images) #

Sofia Noyes, age 3 1/2, plays ball with her father, Erik Noyes, in Cambridge, Massachusetts on a blustery early spring day, Sunday, March 22, 2009. (Dina Rudick/Globe Staff) #

Sunday, April 12, 2009

ข้อไหล่ยึดหรือข้อไหล่ติด

ที่มา  http://www.siamhealth.net/


สำหรับผู้ที่อายุยังน้อยหรือไม่ได้ผ่านการทำงานหนักอาจจะไม่รู้จักโรคนี้ แต่สำหรับวัยกลางคนขึ้นไปและผ่านงานหนักจะประสบปัญหาเรื่องการยกไหล่ไม่ขึ้น หรือไม่สามารถถูหลังเราเรียกภาวะนี้ว่า Frozen shoulder ข้อไหล่ติด ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้คือ

  • เป็นในหญิงมากกว่าชาย
  • มักจะเริ่มเป็นอายุ 40-50 ปี
  • ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอัตราการป่วยด้วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 20-30%
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเหล่านี้ได้แก่ การที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อ การได้รับอุบัติเหตุที่ไหล่ การใช้งานมากไป คอพอกเป็นพิษ
สาเหตุของการเกิดข้อติด
สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบแต่เชื่อว่าเกิดจากการอักเสบของเยื่อ หุ้มข้อและมีการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อ ทำให้ข้อเกิดการเคลื่อนไหวน้อยลง
การดำเนินของโรค
  1. ในระยะแรกจะมีอาการปวดข้อไหล่โดยเฉพาะปวดเวลากลางคืน อาการจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-9 เดือน
  2. ระยะที่สองอาการปวดจะน้อยลง แต่จะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงระยะนี้ใช้เวลา 4-12 เดือน
  3. ระยะที่สามจะเริ่มฟื้นตัว การขยับของข้อดีขึ้น ระยะนี้ใช้เวลา 12-42 เดือนหากไม่ดีอาจจะพิจารณาผ่าตัด
การวินิจฉัยและการรักษา
การตรวจไม่ยาก แพทย์จะให้ยกแขนขึ้นพบว่ายกแขนได้น้อยลง อาจจะต้องx-ray เพื่อตรวจว่ามีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นหรือไม่
การรักษาประกอบไปด้วย
  • ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ
  • การทำกายภาพ
  • การใช้น้ำร้อนหรือน้ำแข็งประคบ
  • การฉีดยา steroid เข้าข้อ
  • การบริหารเพื่อทำให้ไหล่เคลื่อนไหวได้มากขึ้น

นอนราบใช้มือข้างหนึ่งจับที่ข้อศอกเพื่อยกแขนขึ้นจนติดพื้น
ยืน ใช้มือจับข้อศอกให้แขนข้ามร่างกาย ให้สุด
ใช้มือสองข้างจับผ้าเช็ดตัวดึงลงจนไหล่เริ่มรู้สึกตึงๆ ค่อยๆเพิ่มน้ำหนัก
การบริหารเพื่อให้ไหล่แข็งแรงมากขึ้น
การบริหารตามรูปข้างล่างจะทำให้กล้ามเนื้อรอบไหล่แข็ง แรงขึ้น การบริหารดังกล่าวจะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หากมีอาการปวดให้หยุดทันที ก่อนที่จะบริหารร่างการให้ยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่ตามรูปข้างบน ยืนก้มเอามือจรดพ้น แกว่งแขนไปมา การเลือกน้ำหนักไม่ต้องหนักมาก ให้บกแต่ละครั้งได้ 20-30 ครั้งโดยไม่เหนื่อย เมื่อทำได้ดีจึงค่อยเพิ่มน้ำหนักอาทิตย์ละครั้ง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์เมื่อสิ้นสุดการบริหารให้ใช้น้ำแข็งประคบ 10-20 นาที
เริ่มต้นให้นอนคว่ำบนโต๊ะ ให้แขนซ้ายพร้อมทั้งหัวไหล่ยื่นออกนอกโต๊ะ ยกน้ำหนักขึ้นโดยการงอที่ข้อศอกดังรูปจนระดับแขนและไหล่อยู่ระนาบเดียวกัน เวลายกแขนขึ้นลงให้ทำอย่างช้าๆ
นอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่ง โดยมีหมอนใบเล็กหนุนบริเวณรักแร้ ยกน้ำหนักดังรูปโดยเริ่มจากพื้นจนขนานกับพื้น เวลายกขึ้นลงให้ทำช้าๆ
นอนตะแคง แขนข้างบนวางแนบลำตัว แขนข้างล่างยกน้ำหนักดังรูปจนติดลำตัว ยกขึ้นลงอย่างช้าๆ
ยืนกำน้ำหนักดังรูป ยกนำหนักขึ้นโดยประมาณว่ากางแขน 45 องศาหลังจากนั้นบิดข้อมือโดยให้หลังมือมาอยู่ด้านหน้า นิ้วหัวแม่มืออยู่ล่าง
การบริหารกล้ามเนื้อไหล่

Saturday, April 11, 2009

ปวดต้นคอ

ที่มา  http://www.siamhealth.net/

อาการ ปวดต้นคอ เป็นอาการที่พบบ่อย ปวดต้นคออาจะมีสาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบเนื่องจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือออาจจะมีสาเหตุจากกระดูกคอเสื่อม
คอเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีการใช้มากที่สุด ยิ่งการทำงานในยุคปัจจุบัน คนต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ต้องก้มหน้าเงยหน้าอยู่ตลอด ประกอบงานปัจจุบันต้องใช้สมองมาก ทำให้เกิดความเครียดจึงเกิดอาการปวดคอ และปวดศีรษะ นอกจากนั้นคอเป็นอวัยวะที่บอบบางเมื่อเทียบกับขนาดสมอง และลำตัว ให้เกิดความชอกช้ำหรือบาดเจ็บได้ง่าย นอกจากนั้นคอก็ยังเป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทที่รับคำสั่งจากสมอง ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย อาการเจ็บคอพบได้ไม่บ่อยเท่าอาการปวดหลัง อาการเจ็บคอที่พบบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อคอหดเกร็งทำให้เอี้ยวคอหรือเคลื่อนไหวศีรษะไม่ได้ หรือที่เรียกว่าตกหมอน ซึ่งส่วนใหญ่จะหายเองได้



มารู้จักคอของคนเรา
คอเป็นอวัยวะที่สำคัญช่วยเชิดหน้าชูตาให้กับเรา คอของเราประกอบด้วยกระดูกคอทั้งหมด 7 ชิ้นเราเรียก cervical spine 1 หรือ C1-7 โดยชิ้นที่1จะอยู่ติดกับกระโหลก ชิ้นที่7จะติดกับกระดูกหน้าอก ระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นจะมีหมอนกระดูกขั้นกลาง เมือ่เราคลำส่วนหลังของคอ จะคลำได้เป็นตุ่มๆซึ่งเป็นกระดูกยื่นมาจากส่วนหลังของกระดูกต้นคอ ตรงกลางของกระดูกจะมีรู้เรียก spinal canal ซึ่งเป็นรูที่ให้ประสาทไขสันหลัง spinal cord ลอดผ่าน ระหว่างรอยต่อของกระดูกต้นคอ จะมีช่องให้เส้นประสาทลอดออกไปซึ่งจะนำคำสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อ และรับความรู้สึกส่วนต่างๆไปยังสมอง หากรูนี้เล็กลง หรือมีกระดูกงอกไปกดก็จะทำให้มีอาการปวดต้นคอ และปวดแขน
การทำงานของคอ
การเคลื่อนไหวของข้อต่อต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ซึ่งมีผลทำให้ส่วนประกอบของข้อเคลื่อนตามดังนี้
  • หากท่านก้มศีรษะหรือเงยหน้า หมอนกระดูกของคอจะถูกกดไปข้างหน้า และข้างหลัง
  • หากท่านหมุนคอไปทางซ้ายหรือขวา กระดูกคอแต่ละชิ้นจะหมุนตัวมันเองตามทิศทางที่ต้องการ
  • เมื่อตะแคงศีรษะไปทางข้างใดข้างหนึ่ง กระดูกข้างนั้นจะบีบตัวเข้ามาทำให้ช่องที่เป็นทางออกของเส้นประสาทแคบลง
สาเหตุของการปวดคอที่พบบ่อย
  1. อิริยาบทหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยร้าเกินไป เช่นบางคนชอบนั่งก้มหน้า หรือ หรือช่างที่ต้องเงยหน้าอยู่ตลอดเวลา ใช้หมอนสูงเกินไปวิธีแก้ต้องใช้หมอนหนุุต้นคอหรือบริเวณท้ายทอย
  2. ความเครียดทางจิตใจซึ่งอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นการงาน ครอบครัว การพักผ่อนที่ไม่พอเพียง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง
  3. คอเคร็ดหรือยอก เกิดจากการที่กล้ามเนื้อคอต้องทำงานมากเกินไป เนื่องจากคอต้องเคลื่อนไหวเร็วเกินไป หรือรุนแรงเกินไปทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อถูกยืดมากจนมีการฉีกขาดบางส่วนจนเกิดอาการปวด ตัวอย่างที่ทำให้เกิดคอเคล็ดเช่น การก้มเพื่อมองหาของใต้โต๊ะ การหกล้ม
  4. ภาวะข้อเสื่อม เนื่องจากกระดูกคอต้องแบกน้ำหนักอยู้ตลอดเวลาตั้งแต่เด็กจนแก่ ทำให้ข้อเสื่อมตามอายุมีปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกที่ขอบของข้อต่อ ซึ่งอาจจะไปกดทับถูกปลายประสาทที่โผล่ออกมา ภาวะข้อกระดูกเสื่อมอาจจะไม่มีอาการปวดหรือผิดปกติใดๆ แต่อาจจะพบโดยบังเอิญ
  5. อาการบาดเจ็บของกระดูกคอซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ ต่างๆเช่น ตกที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำ ผู้ป่วยมักจะมีอาการบาดเจ็บของร่างกายส่วนอื่นด้วย
  6. ข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบเรื้อรังบางชนิดอาจจะทำให้กระดูกต้นคออักเสบด้วย เช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์
โรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดต้นคอ
โรคหมอนรองกระดูก Cervical Disc Disease
หากเราเกิดอุบัติเหตุเช่น รถชนกันทำให้ศีรษะหงายหลัง หรือเกิดจากข้ออักเสบทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมและมีการเลื่อนของหมอน รองกระดูกไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดเหมือนไฟช็อกจากต้นแขนไปปลายแขนร่วมกับอาการชา หากไม่รักษาอาจจะทำให้แขนอ่อนแรงถึงกับเป็นอัมพาต หมอนกระดูกทับเส้นประสาท
ท่อไขสันหลังตีบ Cervial stenosis
เนื่องจากมีการเสื่อมของกระดูกต้นคอและหมอนรองกระดูกทำให้รูในท่อไขสันหลังแคบจึงมีการกดทับประสาทไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ ชามือ เดินเร็วจะปวดขา ทำงานที่มีความละเอียดไม่ได้
กระดูกต้นคอเสื่อม Osteoartgritis
กระดูกต้นคอก็เหมือนกับกระดูกที่อื่นๆ เมื่อใช้งานมานานก็เกิดการเสื่อมของกระดูก หมอนกระดูกจะบางลง และมีกระดูกงอกเงยออกมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ มักจะเป็นมากในตอนเช้า ปวดต้นคอร้าวไปบริเวณไหล่หรือสะบัก ตอนสายๆอาการจะดีขึ้น
การได้รับอุบัติเหตุ
ส่วนให้เกิดจากอุบัติเหตุรถหรือมอเตอร์ไซด์ มีการหงายหน้าอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้มีการช้ำของกล้ามเนื้อ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจจะมีหมอนกระดูกทับเส้นประสาท
การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเจ็บคอ
  1. ผู้ที่มีอาการปวดต้นคอหรือที่เรียกว่าตกหมอนส่วนใหญ่จะเกิดจากการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรือเอ็นรอบคอ คอจะแข็งอย่างเฉียบพลันหลังจากการเอี้ยว บิด ผิดท่าหรือภายหลังการตื่นนอน การรักษาสามารถทำได้โดย
  • พยายามพัก อย่าเคลื่อนไหวคอ ทางที่ดดีควรจะนอนพัก
  • รับประทานยาแก้ปวด หากไม่มากใช้ยา paracetamol 500 mg. หากปวดมากก็ให้รับประทานยากลุ่ม NSAID
  • ในระยะแรกอาจจะประคบด้วยน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกห่อผ้าขนหนูวางบริเวณที่ปวด หรือจะใช้น้ำอุ่นประคบประมาณ 10-15 นาที
  • การใส่ปลอกคอ มักจะไม่มีความจำเป็น นอกจากจะปวดมากๆ ไม่แนะนำให้มีการจับเส้นในระยะเฉียบพลันเพราะอาจจะเกิดผลเสีย
  1. สำหรับผู้ที่ปวดคอเรื้อรัง อาการปวดมักจะไม่รุนแรง เวลาก้มหรือเงย ตะแคงหรือเอี้ยวคอจะทำให้ปวดเพิ่มขึ้น การดูแลเบื้องต้ได้แก่
  • กินยาแก้ปวด
  • ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่นไว้แล้ว
  • การนวดหรือกดจุด โดยถูกหลักวิชาอาจจะช่วยระงับอาการปวดได้ การนวดง่ายๆอาจทำภายหลังจากการอาบน้ำอุ่นหรือประคบร้อนแล้ว 10-15 นาที
  • เริ่มการฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อคอ
อาการเจ็บคอที่ต้องรีบพบแพทย์
อาการเจ็บคอโดยส่วนใหญ่ไม่อันตรายหายเองได้ แต่ก็มีบางภาวะที่ผู้ป่วยจะต้องรู้และรีบปรึกาาแพทย์
  • อาการปวดต้นคอร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนหรือขา และอาการอ่อนแรงเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
  • อาการปวดข้อร่วมกับเบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • มีอาการปวดคอร่วมกับมีไข้สูง คอแข็ง ก้มหน้าเอาคางจรดอกไม่ได้ซึ่งอาจจะเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • อาการปวดต้นคอเป็นตลอดอย่างต่อเนื่อง
  • มีอาการปวดต้นคออย่างมาก
  • อาการเจ็บคอหลังจากได้รับอุบัติเหตุ
การออกกำลังกล้ามเนื้อคอ
กล้ามเนื้อคอเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันและการรักษาการปวดคอเรื้อรังหรือเป็นๆหายหายๆ การบริหารกล้ามเนื้อคอจะแบ่งเป็นสองระยะได้แก่
  • ในระยะแรกจะบริหารเพื่อเพิ่มความยืดยุนของเอ็นและกล้ามเนื้อรอบคอ โดยการเอียงคอไปทางซ้าย ขวา ก้มหน้า เงยหน้า
  • ในระยะต่อมาจึงจะสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยการ ใช้แรงต้านจากมือ
  • การออกกำลังกายโดยทั่วไป นับเป็นส่วนสำคัญข้อหนึ่ง เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้หัวใจแข็งแรง มีการสูบฉีดโลหิตเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อของร่างกายหลายๆส่วน เช่นกล้ามเนื้อขา หลังจะแข็งแรง กระดูกจะเสื่อมน้อย
การรักษาโดยแพทย์
ความสำคัญของการรักษาแพทย์จะตรวจว่าหมอนกระดูกได้มีการ กดทับเส้นประสาทหรือไม่ หากมีการกดทับมาก ผู้ป่วยเกิดอาการช้า หรืออ่อนแรงแขนหรือขา การรักษาจะต้องทำการผ่าตัดในการวินิจฉัยแพทย์จะถามประวัติเพิ่มเติม และมีการตรวจพิเศษเพื่อยืนยันการวินิจฉัย และหาตำแหน่งของโรค
การรักษาโดยกายภาพ
การทำกายภาพจะช่วยผ่อนคลายอาการปวดคอให้ท่านได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
  • การประคบร้อน
  • การใช้เคื่อง ultrasound
  • การอบร้อน Diathermy
  • การใช้ Laser
  • การดึงคอ
  • การนวด
  • การใส่ปลอกคอ
การปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการปวดคอ

  1. ระวังอริยาบท ทั้งการยืน การนั่ง การนอน การทำงาน
  2. การทำงานควรหาเวลาหยุดพักเพื่อออกำลังกล้ามเนื้อคอ เคลื่อนไหวคอ หรือเปลี่ยนอิริยบทสัก 2-3 นาทีทุกชั่วโมง
  3. การเลือกเก้าอี้ที่เหมาะสม
  4. การพักผ่อนที่เพียงพอ การเลือกหมอน ที่นอน
  5. การใช้ยา
  6. การบริหารคอ

Friday, April 10, 2009

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หมายถึง เอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้า และกรดูกนิ้วเกิดการอักเสบ ทำให้ปวดฝ่าเท้าเมื่อตื่นลุกขึ้นในตอนเช้า และก้าวเท้าลงพื้น และเกิดอาการปวดบริเวณฝ่าเท้า และส้นเท้าแต่หลังจากเดินไป 3-4 ก้าวอาการปวดดีขึ้น แสดงว่าคุณเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือที่เรียกว่า plantar fasciitis หมายถึงคุณได้ใช้เท้าทำงานมากเกินไป มีการดึงรั้งของเอ็นใต้ฝ่าเท้า การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัต ิและตรวจร่างกาย

กลไกการเกิดโรค

เอ็นฝ่าเท้าจะยึดระหว่างส้นเท้าและนิ้วเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง
โครงสร้างของฝ่าเท้าประกอบไปด้วยเอ็นซึ่งเกาะกับกระดูกส้นเท้า(calcaneus)ไปยังนิ้วเท้าเราเรียกเอ็นนี้ว่า planta fascia เอ็นฝ่าเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง
อลงมาดูภาพแสดงตำแหน่งของเอ็นฝ่าเท้าซึ่งเปรียบเสมือนสปริง เอ็นนี้จะได้รับแรงยึดมากที่สุดในขณะที่เดินเมื่อนิ้วหัวแม่เท่ากำลังเหยียด สุดๆ บริเวณที่ได้รับแรงดึงมากที่สุดคือตำแหน่งที่เอ็นเกาะติดกับกระดูกส้นเท้า ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกบริเวณส้นเท้าซึ่งทำให้ปวดเวลายืนหรือ เดิน เมื่ออักเสบเรื้อรังก็จะเกิดกระดูกงอก exostosis (bone spur)ซึ่งดังวงกลมในรูป
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
  • ผู้หญิง
  • น้ำหนักเกิน
  • ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็งๆ
  • ออกกำลังกายวิ่งโดยที่ไม่ได้มีการยืดกล้ามเนื้อน่อง
  • ฝ่าเท้าแบน หรือฝ่าเท้าโค้งเกินไป
  • ท่าการเดินผิดไปคือเดินแบบเป็ด
  • การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ
อาการ
จะเริ่มต้นด้วยอาการปวดฝ่าเท้าเล็กน้อยแรกๆจะปวดหลังออกกำลังกาย ต่อมาจะปวดเวลาเดินหลังจากตื่นนอนเมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น แต่หากเป็นมากจะปวดกลางวันร่วมด้วย การตรวจร่างกายพบว่าถ้ากดบริเวณกระดูกส้นเท้าดังรูปจะทำให้เกิดอาการปวดหาก ไม่รักษา อาจจะทำให้เกิดโรคข้อเท้า เข่าหรือหลังเนื่องจากทำให้การเดินผิดปกติ
การรักษา
  • เมื่อมีอาการปวดให้พักการใช้งานหนักจนกระทั่งอาการปวดดีขึ้น
  • ให้ลดน้ำหนักจนอาการปวดดีขึ้น
  • การผ่าตัดแก้ไขความพิการของเท้าเช่นฝ่าเท้าแบนราบหรือโค้งเกินไป
  • ใช้ขวอใส่น้ำแช่จนแข็งประคบน้ำแข็งครั้งละ 20 นาทีวันละ 3 ครั้งเพื่อลดอาการอักเสบ
  • แพทย์จะให้ยากลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen เพื่อลดการอักเสบบางรายอาจจะต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์
  • การฉีดยา steroid จะสงวนไว้ในรายที่ดื้อต่อการรักษาเบื้องต้นเพราะจะทำให้เกิดการอ่อนแอของเอ็นซึ่งอาจจะทำให้เอ็นขาด
  • ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันการกระแทกโดยแผ่นดังกล่าวจะหนาด้านในและบางส่วนด้านนอก
  • บริหารเอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าที่บ้าน
  • การนวดฝ่าเท้า
ยืนห่างจากโต๊ะหรือกำแพง 24 นิ้ว ก้าวเท้ามาข้างหน้าหนึ่งก้าว แล้วย่อสะโพกและเข่าลง จะทำให้รู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้า ให้ทำแต่ละครั้งนาน 10 วินาทีทำ 20 ครั้ง
ยืนห่างกำแพง 24 นิ้วมือยันกำแพง ส้นเท้าทั้งสองข้างติดพื้น โน้มตัวไปข้างหน้าจะมีอาการตึงกล้ามเนื้อน่อง เอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าทำแต่ละครั้งนาน 10 วินาทีทำ 20 ครั้ง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นใน 2-3 เดือน หากไม่ดีแพทย์จะทำการฉีดยา steroid เข้าบริเวณเอ็นฝ่าเท้า

โรคที่เกี่ยวข้อง


ที่มา  http://www.siamhealth.net/

Wednesday, April 8, 2009

ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ De-Quervain's tenosynovitis



เป็นการอักเสบและตีบแคบของปลอดหุ้มเอ็นของกล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
โครงสร้าง
เอ็นสองเส้นที่มาบังคับการทำงานของนิ้วหัวแม่มือจะวิ่งในปลอกหุ้ม เอ็น เอ็นจะมีเยื่อหุ้มเอ็นซึ่งจะทำหน้าที่ทำให้เอ็นเคลื่อนในปลอกลื่นไหล เมื่อปลอกหุ้มเอ็นอักเสบหรือบวมจะทำให้เกิดอาการปวด


  • เกิดเนื่องจากการใช้งานของข้อมือและนิ้วหัวแม่มือในลักษณะซ้ำๆ เช่นการหยิบสิ่งของต่าง
  • เกิดพร้อมกับข้ออักเสบอื่นๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • ผู้ป่วยจะมาด้วยปวดหรือเจ็บบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ อาการอาจจะค่อยเป็นค่อยไป หรืออาจจะเกิดทันที อาการปวดอาจจะร้าวไปข้อศอก อาการจะปวดมากโดยเฉพาะเวลาหยิบหรือจับสิ่งของ
  • อาจจะมีอาการบวมบริเวณเอ็นตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ
  • อาจจะมีอาการชาด้านหลังนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
  • การตรวจที่เรียกว่า Finkelstein's test โดยการให้ผู้ป่วยกำนิ้วหัวแม่มือและให้หักข้อมือลงทางด้านนิ้วก้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ
ประกอบไปด้วย
การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด
  • การพักการใช้งาน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้นิ้วหัวแม่มือ
  • การใช้เผือกอ่อนดามโคนนิ้วหัวแม่มือ
  • ใช้ยาลดอาการปวดและลดการอักเสบ เช่น การใช้ยา NSAID
  • การประคบร้อน การประคบเย็น การใช้ ultrasound
  • หากไม่ตอบสนองก็ใช้วิธีการฉีด steroid
การผ่าตัด
  • การผ่าตัดจะทำในรายที่อาการปวดไม่ทุเลา การผ่าตัดจะตัดแยกปลอกหุ้มเอ็น
เอกสารอ้างอิง

  1. http://www.assh.org/Pages/Default.aspx
  2. http://www.assh.org/Public/HandConditions/Pages/deQuervainsTendonitis.aspx